top of page
ค้นหา
Dr.Ward Miller

5-Minute Read: “Just” Tune It! [ทำความรู้จักกับ Just Intonation]


บทความนี้ได้รับอนุญาตให้แปลและเผยแพร่โดยเจ้าของบทความ ต้นฉบับ drwardmiller.com/2014/09/5-minute-read-just-tune-it/

โดย Dr.Ward Miller

การเล่นให้เสียงเข้ากันทั้งวง (in tune) นั้นเป็นเรื่องที่ทั้งนักดนตรีและครูคุมวงต่างพยายามกันมาตลอด เครื่องดนตรีนั้นมีส่วนประกอบมากมายที่ทำให้การเล่นเสียงให้ตรงนั้นเป็นเรื่องยาก ไม่ว่าจะเป็น ลิ้น, อุณหภูมิ, ความชื้น, ความล้าของกล้ามเนื้อปาก หรือแม้กระทั่งเรากินอะไรเป็นข้าวเช้ามา (!!!)

แต่อย่าเข้าใจผมผิด! เครื่องเทียบเสียงไม่ว่าจะเป็นแบบเข็มในสมัยก่อน หรือจะเป็นแอปในสมาร์ทโฟนนั้นเป็นตัวช่วยที่ดีจริงๆ เราเซทมาตรฐานการเทียบเสียงไว้ที่ A=440 (ในอเมริกา) แต่มาตรฐานการเทียบเสียงนี้มันทั้งมีประโยชน์และก็ไม่มีประโยชน์เลยในเวลาเดียวกัน ทำไมเป็นอย่างนั้นล่ะ?

อธิบายแบบให้เข้าใจง่ายๆ คือ ถ้าเครื่องเทียบเสียงตั้งให้เสียง A มีค่าเท่ากับความถี่ 440 Hz เสียง D#2 ก็จะมีค่า 77.78 Hz ซึ่งเป็นความถี่เดียวกับ Eb2

แล้ว D# กับ Eb ที่ออคเตฟเดียวกัน ไม่ใช่ความถี่เดียวกันเหรอ?

คุณอาจจะสงสัยเรื่องนี้ คำตอบก็คือถ้าคุณมองมันเป็นแค่ชื่อโน้ต หรือเป็นตำแหน่งบนคีย์เปียโนล่ะก็ มันก็ใช่ เพราะมันเป็นระบบการเทียบเสียงแบบ equal temperament (การเทียบเสียงโดยทุกเสียงมีช่วงห่างเท่ากันหมด)

แต่เครื่องเป่านั้นไม่ใช่เปียโน เราไม่เล่นนับว่า D# กับ Eb นั้นเป็นเสียงเดียวกัน ยกเว้นถ้าเป็นเรื่องการจำนิ้วกดล่ะก็นะ เพราะฉนั้นเราจึงต้องทำความรู้จักกับ Just Intonation

และนี่คือเหตุผล ลองดูที่ triad นี้ B-D#-F# นี่คือคอร์ด B major แต่ถ้าเราลองเปลี่ยนเป็น B-Eb-F# มันก็จะไม่ใช่คอร์ด major แล้ว! คือถ้าจะต้องเป็นคอร์ด major มันก็ต้องเขียนให้มันถูกต้องด้วย และที่แปลกไปกว่านั้น เมื่อโน้ตถูกเขียนมาให้เป็นคอร์ด major สมองของมนุษย์จะไม่อยากได้ยินเสียง D# ที่ 77.78 Hz หรอก เราจะรู้สึกว่ามันเพี้ยน!

Just Intonation

เพราะสมองของมนุษย์นั้นไม่ยอมรับความถี่ที่เป็นจุดทศนิยม เราชอบ (โดยไม่รู้ตัว) ให้มันรวมกันเป็นเลขเต็มๆมากกว่า เพราะฉนั้นเราจึงต้องเทียบเสียงแบบ Just Intonation ในทุกๆคอร์ดที่เราเล่น ดังนั้นเสียง D# ในคอร์ด B major นั้นจึงต้องเล่นให้เพี้ยนต่ำลงเล็กน้อย และ F# จะต้องเพี้ยนสูงขึ้นนิดหน่อย

เครื่องเทียบเสียงทั่วๆไปจะบอกเราว่าเราเล่นไม่ตรงแล้วล่ะ แต่นั่นมันไม่จริงเลย เรื่องของเรื่องคือเราต้องเชื่อหูของตัวเราเอง ลองดูตารางที่แนบมาด้วยนี้ มันเป็นคู่มือง่ายๆที่บอกว่าในแต่ละ triad ของคอร์ดทุกๆประเภทเราควรจะต้องเทียบเสียงอย่างไร ทีนี้ทุกๆคอร์ดที่วงของคุณเล่นออกมาก็จะไม่มีความเพี้ยนแล้วล่ะ

Dr.Ward Miller

Brass Caption Head for the Blue Stars Drum and Bugle Corps


ดู 1,328 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page